วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หัวใจชายหนุ่ม

“ ความซื่อสัตย์สุจริต ” คืออะไร มีความหมายอย่างไร
ตามพจนานุกรมคำว่า “ ซื่อสัตย์สุจริต ” คือ “ ความประพฤติตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ไม่คดโกงไม่หลอกลวง และที่สำคัญ คือ ความประพฤติด้วยความตั้งใจดี
ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าดูตามคำวิเคราะห์ศัพท์ในพจนานุกรม ความซื่อสัตย์สุจริตจะเกิดขึ้นได้โดย ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสัจจะทั้งกาย วาจา ใจ ยึดมั่นทำแต่สิ่งที่ชอบ ไม่ประสงค์ในสิ่งที่ไม่ถึงได้อันจะนำไปสู่ความทุจริต ในการกระทำทุกอย่าง ปากพูดอะไรก็ทำอย่างนั้น คือ ปากกับใจต้องตรงกัน ที่กล่าวมานี้เป็นความหมายของความซื่อสัตย์สุจริตในความหมายทั่วไป แต่ในกรณีของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายนั้น คำว่า “ ซื่อสัตย์สุจริต ” มีความหมายลึกซึ้งกว่านี้มากและจะแตกต่างจากวิชาชีพอื่น เช่น เจ้าพนักงานเขตหรืออำเภอให้บริการที่ดีแก่ประชาชนที่ไปติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือในกรณี ผู้ป่วยไปหาแพทย์ แพทย์และพยาบาลให้การดูแลอย่างดี ให้ความสะดวกรวดเร็วในการรักษา ผู้บริการในทั้งสองกรณีพอใจกับบริการที่ได้รับจึงนำของกำลังหรือของขวัญไปให้เจ้าพนักงานอำเภอ แพทย์ หรือพยาบาลที่ให้บริการ อย่างนี้วิชาชีพอื่นถือว่าไม่เป็นไร รับไว้ได้ไม่ขัดต่อความซื่อสัตย์สุจริต เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีคู่กรณี มีเฉพาะผู้ให้บริการและ ผู้รับบริการ แต่ในวิชาชีพกฎหมายนั้นแม้เราจะชี้ขาดหรือตัดสินไปด้วยความยุติธรรมไม่ได้เข้าข้างใคร ผู้ชนะหรือผู้ที่ได้รับความเป็นธรรม นำของกำนัล ของขวัญ หรือเงินทองมาให้เมื่อคดีเสร็จแล้วก็ตาม ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่เป็นผู้ดำเนินการ หรือเป็นผู้ชี้ขาด รับไว้ไม่ได้ หากรับไว้ถือว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต และขัดต่อประมวลจริยธรรมนักกฎหมาย เพราะในเรื่องคดีความนั้นเป็นเรื่องที่มี คู่กรณี เมื่อฝ่ายที่ชนะเอามาให้ ฝ่ายแพ้ย่อมจะเข้าใจว่าสาเหตุที่อีกฝ่ายหนึ่งชนะเพราะเอาของขวัญ ของกำนัล หรือเงินทองมาให้ รวมทั้งหากรับไว้จะเป็นหนทางหรือบ่อเกิดของการเพาะนิสัยให้อยากได้ทรัพย์สินของคนอื่นอันจะนำไปสู่ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อไป
ในเรื่องนี้มีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2520 ว่า
“ กฎหมายทั้งปวงจะธำรงความยุติธรรมและถูกต้อง เที่ยงตรง หรือจะธำรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมอยู่ได้หรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ คือถ้าใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ๆ จริงแล้ว ก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพอันสมบูรณ์ไว้ได้ แต่ถ้าหากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ โดยการพลิกแพลงบิดพลิ้วให้ผันผวนไปด้วยความหลงผิด ด้วยอคติ หรือด้วยเจตนาอันไม่สุจริตต่าง ๆ กฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพลงทันที และกลับกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ผู้ที่ต้องการจะใช้กฎหมายสร้างสรรค์ความผาสุขสงบและความเป็นปึกแผ่นก้าวหน้าของประชาชนและบ้านเมืองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาวัตถุประสงค์อันแท้จริงของกฎหมายแต่ละฉบับไว้ให้แน่วแน่เสมอไป อย่างไม่มีข้อแม้ประการใด ๆ พร้อมทั้งต้องรักษาอุดมคติ จรรยา ความสุจริต และมโนธรรมของนักกฎหมายไว้โดยรอบคอบ เคร่งครัดเสมอด้วยรักษาชีวิตของตนเอง กฎหมายไทยจึงจะทรงคุณค่าอันสมบูรณ์ บริบูรณ์ ”
ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า เราจะรักษาความซื่อสัตย์สุจริตไว้ได้อย่างไร ในเรื่องนี้มีเรื่องที่เราจะต้องระมัดระวังและปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้บุญคุณของผู้อื่น อาชีพทางกฎหมายไม่เหมือนอาชีพดีความที่เราต้องพิจารณาและให้ความเป็นธรรมกับคนอื่นนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะให้โดยฝ่าฝืนความเป็นธรรมได้ และไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะซื้อหรือขายกันได้ เช่น เราปวดฟันไปหาทันตแพทย์ซึ่งเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักกัน เมื่อทันตแพทย์ทำฟันหรือรักษาฟันให้เราเสร็จแล้ว เขาไม่คิดค่ารักษาและค่าทำฟันจากเรา สิ่งที่ทันตแพทย์ผู้นั้นขาดไปคือจำนวนเงินก้อนหนึ่งที่เขาควรได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนต่อความเป็นธรรมหรือกระทบกระเทือนผู้อื่น แต่ถ้าต่อมาเรามาเป็นผู้พิจารณาคดี หรือพิจารณาเรื่องซึ่งพิพาทกันระหว่างนายแดงและนายดำ ซึ่งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายนายแดงควรเป็นฝ่ายชนะ แต่ทันตแพทย์คนดังกล่าวมาหาเราและขอให้เราพิพากษาให้นายดำเป็นฝ่ายชนะคดี โดยอ้างว่านายดำเป็นญาติหรือเป็นเพื่อนของเขา ดังนี้จะทำให้เราลำบากใจ เพราะในการพิจารณาหรือชี้ขาดคดี หรือข้อพิพาท ถ้าให้ตามขอก็จะเสียความเป็นธรรม หากไม่ให้ก็ไม่สบายใจเพราะเป็นหนี้บุญคุณเขา ที่กล่าวมานี้เป็นแต่เพียงตัวอย่างเล็ก ๆ เรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาบางครั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไปขอความช่วยเหลือและขอบริการจากบุคคลอื่นโดยมีมูลค่าคิดเป็นเงินมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดบุญคุณ เมื่อเวลาเขาขอคดีก็มักจะให้เขา ซึ่งทำให้เสียความเป็นธรรม ทำให้ถูก วิพากวิจารณ์ และทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้องเสียชื่อเสียงไปมากมายแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เรารักษาความซื่อสัตย์สุจริตไว้ได้ก็คือ หลีกเลี่ยงการเป็นหนี้บุญคุณผู้อื่น รวมทั้งผู้ใหญ่และผู้บังคับบัญชาในวงการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางกฎหมาย ต้องตระหนักและให้ความสำคัญในข้อนี้ให้มาก โดยอย่าประพฤติหรือปฏิบัติตนในทางที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องไปก่อหนี้บุญคุณกับผู้อื่น
2. ด้านความเป็นอยู่ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องฝึกฝนและปรับตัวเองในด้านความเป็นอยู่ ให้อยู่ภายในวงเงินงบประมาณของค่าตอบแทนที่ได้รับจากรัฐ ซึ่งได้แก่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินค่าจ้างตอบแทนตามที่ตกลงไว้ โดยเฉพาะในปัจจุบัน หากเรารู้จักใช้จ่ายให้เป็น วางแผนงบประมาณของตนให้อยู่ในกรอบของค่าตอบแทนที่ได้รับ เราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ ขอให้จำไว้ว่า แม้เราเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือเป็นทนายความที่มีชื่อเสียงมากไปรับประทานข้าวแกงด้วยเงินของตัวเอง ย่อมมีเกียรติและเป็นที่เคารพไว้วางใจจากประชาชน คู่ความ และผู้เกี่ยวข้อง ตรงกันข้ามหากไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารด้วยเงินทองของผู้อื่นที่เรียกกันว่าเจ้าหรือมีสปอนเซอร์ กลับจะไม่มีเกียรติและเป็นที่แคลงใจ รวมทั้งอาจขาดความไว้วางใจจากประชาชน ขอให้จำไว้ว่าข้ออ้างของข้าราชการต่าง ๆ ที่มักจะอ้างว่าจำเป็นต้องไปรับเงินนอกระบบเพราะเงินเดือนและค่าตอบแทนที่ได้รับจากรัฐไม่พอกินพอใช้นั้น เป็นข้ออ้างที่ไร้สาระของคนเห็นแก่ตัวไม่มีความอาย เพราะเขาเหล่านั้นล้วนเป็นคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เล่นการพนัน เที่ยวเตร่เกินตัว หรือเป็นคนมีความโลภ และหากใครก็ตามยกเหตุผลดังกล่าวขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการรับเงินทองนอกระบบแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะไปหาความยุติธรรมจากคนเหล่านั้นได้ เพราะเขาไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเหลือที่จะให้ความยุติธรรมได้
3. ความตั้งใจดี ความ ตั้งใจดี นี้เป็นรากฐานและจุดเริ่มต้นของผู้มีวิชาชีพในทางกฎหมาย ที่จะรักษาคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายไว้ได้ ความตั้งใจดีนี้นอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติรักษาคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายไว้ได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จและเจริญรุ่งเรืองในวิชาชีพกฎหมายของตนเองได้ดีตามสมควร
ความประพฤติที่มีความตั้งใจดีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของคำนิยามความซื่อสัตย์สุจริตดังได้กล่าวมาข้างต้น “ ความตั้งใจดี ” คืออะไร หากจะเขียนตอบหรืออธิบายออกมาเป็นคำพูด อาจทำให้เข้าใจยาก แต่ถ้ายกเป็นตัวอย่างจากเรื่องที่เกิดขึ้นจริงจะทำให้เราเข้าใจได้ง่าย
พวกท่านทั้งหลายที่มานั่งอยู่ในวันนี้ ก่อนสอบวิชาต่าง ๆ ที่สอบได้มา ผมเชื่อว่าหลายท่านอาจไปกราบไหว้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เพื่อขอให้สอบได้ เชื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาคเรียนที่ 2 วิชา ท31102 ภาษาไทย

ตัวชี้วัด
1. อ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรองได้ไพเราะถูกต้อง
2. ตีความ แปลความและขยายความได้
3. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านได้
4. ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล
6. ตอบคำถามเรื่องที่อ่านได้
7. มีมารยาทในการอ่าน
8. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้
9. เขียนเรียงความได้
10. เขียนย่อความได้
11. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูแแบบต่างๆได้
12. ประเมินผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองได้
13. เขียนรายงานเชิงวิชาการได้
14. บันทึกการค้นคว้า เพื่อพัฒนาตนเองได้
15. มีมารยาทในการเขียน
16. ประเมินเรื่องที่ฟัง และดูและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
17. มีวิจารณญาณเลือกเรื่องที่ฟังและดู
18. พูดในโอกาสต่างๆได้
19. มีมารยาทในการฟัง การดู การพูด
20.แต่งบทร้อยกรองได้
21. วิเคาระห์อิทธิพลภาษาต่างประเทศและภาษาอื่นได้
22. อธิบายและวิเคาราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
23. วิเคราะห์แลประเมินการใช้ภาษาในสื่อต่างๆได้
24 วิเคราะห์และวิจารร์วรรณคดีในวรรณกรรมได้
25. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดี เชื่อมโยงความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้
26. ประเมินค่าวรรณศิลป์ วรรณคดี วรรณกรรมได้
27. สังเคราะห์ข้อคิด วรรณคดีและวรรณกรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
28. ท่องอาขยานที่มีคุณค่าได้